ยินดีต้อนรับเช้าสู่เวบไซด์ที่น่าดูน่าชมที่สุด
   
  MayymatH010
  รูปแบบการสื่อสาร
 
         สื่อประสมที่นิยมกันในปัจจุบันจะใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักโดยการใช้ซอฟต์แวร์โปรแกรมสร้างสื่อประสมในการเสนอสารสนเทศในรูปแบบรวมของข้อความ ภาพกราฟิก และเสียง โดยที่เนื้อหาของข้อมูลสารสนเทศจะต้องได้รับการปรับรูปแบบก่อนนำมาใช้ในโปรแกรมโดยแบ่งได้ดังนี้ 
        ข้อความเนื้อหาข้อมูลในลักษณะข้อความจะเป็นตัวอักขระที่พิมพ์ด้วยโปรแกรมประมวลคำเช่น Microsoft Word ในรูปของประโยคและย่อหน้าของเนื้อหา หรือพิมพ์ข้อความลงบนสไลด์ของ PowerPoint โดยสามารถปรับแต่งตัวอักษร สี และลักษณะพิเศษต่างๆ ของข้อความได้ เช่น ตัวหนา ตัวเอน ตัวขีดเส้นใต้ ฯลฯ เพื่อเน้นข้อความ
        ภาพกราฟิก หมายถึง ภาพถ่าย ภาพเขียน ภาพวาดลายเส้น และภาพลักษณะต่างๆที่เป็นภาพนิ่ง หรือแม้แต่ข้อความที่พิมพ์ด้วยโปรแกรมกราฟิกเพื่อตกแต่งให้สวยงามจะถูกแปลงเป็นภาพกราฟิกเช่นเดียวกัน ภาพกราฟิกนับว่าเป็นสิ่งสำคัญในสื่อประสมเนื่องจากเป็นสิ่งดึงดูดสายตาและความสนใจของผู้ชม สามารถสร้างความคิดรวบยอดได้ดีกว่าการใช้ข้อความ และใช้เป็นจุดต่อประสานในการเชื่อมโยงหลายมิติได้อย่างน่าสนใจ ภาพกราฟิกที่ใช้ในสื่อประสมนิยมใช้กันมาก 2 รูปแบบ คือ 
              ภาพกราฟิกแบบบิตแม็ป (bitmap graphics) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า raster graphics เป็นกราฟิกที่สร้างขึ้นโดยการใช้ตารางจุดภาพ (grid of pixels) จึงทำไห้เห็นเป็นตารางสี่เหลี่ยมเมื่อขยายภาพ ในการวาดภาพกราฟิกแบบบิตแม็ปจะเป็นการสร้างกลุ่มของจุดภาพแทนที่จะเป็นการวาดรูปทรงของวัตถุเพื่อเป็นภาพขึ้นมา การแก้ไขหรือปรับแต่งภาพจึงเป็นการแก้ไขครั้งละจุดภาพได้เพื่อความละเอียดในการทำงาน ข้อได้เปรียบประการหนึ่งของกราฟิกแบบนี้ คือ สามารถแสดงการไล่เฉดสีและเงาอย่างต่อเนื่องจึงเหมาะสำหรับตกแต่งภาพถ่ายและงานศิลป์ต่างๆ ได้อย่างสวยงาม แต่ภาพแบบบิตแม็ปมีข้อจำกัดอย่างหนึ่งคือ จะเห็นเป็นรอยหยักเมื่อขยายภาพใหญ่ขึ้นภาพกราฟิกแบบนี้จะมีชื่อลงท้ายด้วย .gif, .tiff, .bmp
             ภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ (vector graphics) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า braw graphics เป็นกราฟิกเส้นสมมติที่สร้างขึ้นจากรูปทรงโดยขึ้นอยู่กับสูตรคณิตศาสตร์ ภาพกราฟิกแบบนี้จะเป็นเส้นเรียบนุ่มนวลและมีความคมชัดหากขยายใหญ่ขึ้น จึงเหมะสำหรับงานประเภทที่ต้องการเปลี่ยนแปลงขนาดภาพเพื่อเหมาะกับการใช้งาน เช่น ภาพวาดลายเส้น การสร้างตัวอักษรและออกแบบตราสัญลักษณ์ ภาพกราฟิกแบบนี้จะมีชื่อลงท้ายด้วย .eps, .wmf, .pict ภาพแอนิเมชัน (animation) เป็นภาพกราฟิกเคลื่อนไหวโดยใช้ animation program ในการสร้าง เราสามารถใช้ภาพที่วาดจาก paint programs, draw programs หรือภาพจาก clip art มาใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวกโดยต้องเพิ่มขั้นตอนการเคลื่อนไหวทีละภาพด้วยแล้วใช้สมรรถนะของโปรแกรมในการเรียนภาพเหล่านั้นให้ปรากฏเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวเพื่อใช้ในการนำเสนอหรือเป็นภาพประกอบเว็บเพจ 
          ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ (full-motion video) เป็นการนำเสนอภาพเคลื่อนไหวด้วยความเร็ว 30 ภาพต่อวินาทีด้วยความคมชัดสูง (หากใช้ 15-24ภาพต่อวินาทีจะเป็นภาพความคมชัดต่ำ) การถ่ายทำภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์จะต้องถ่ายภาพก่อนด้วยกล้องวีดิทัศน์แล้วจึงตัดต่อด้วยโปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหว เช่น Adobe Premiere และ Ulead VideoStudio ปกติเป็นไฟล์ภาพลักษณะนี้จะมีขนาดใหญ่มากจึงต้องลดขนาดไฟล์ให้เล็กลงด้วยการใช้เทคนิคการบีบอัดภาพ (compresson) ด้วยการลดพารามิเตอร์บางส่วนของสัญญานในขณะที่คงเนื้อหาสำคัญไว้ รูปแบบภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์บีบอัดที่ใช้กันทั่วไปได้แก่ Quicktime,AVI, และ MPEG 1 ใช้กับแผ่นวีซีดี MPEG 2 ใช้กับแผ่นดีวีดี MPEG 4 ใช้ในการประชุมทางไกลด้วยวีดิทัศน์และ streaming media
          เสียง เช่นเดียวกับข้อมูลภาพ เสียงที่ใช้ในสื่อประสมไม่ว่าเป็นเสียงพูด เสียงพลงหรือเสียงเอ็ฟเฟ็กต่างๆ จะต้องจัดรูปแบบเฉพาะเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและใช้งานได้ โดยการบันทึกเสียงลงคอมพิวเตอร์และแปลงเสียงจากระบบแอนะล็อกให้เป็นดิจิทัล แต่เดิมรูปแบบเสียงที่นิยมใช้กันจะมี 2 รูปแบบ คือ WAV (waveform) จะบันทึกเสียงจริงดังเช่นเสียงเพลงและเป็นไฟล์ขนาดใหญ่จึงจำเป็นต้องได้รับการบีบอัดก่อนนำไปใช้ และ MIDI (Musical Instrumant Digital Interface) เป็นการสังเคราะห์เสียงเพื่อสร้างเสียงใหม่ขึ้นมาจึงทำให้มีขนาดเล็กกว่าไฟล์ WAV แต่คุณภาพเสียงจะด้อยกว่า ในปัจจุบันไฟล์เสียงนิยมใช้กันแพร่หลายอีกรูปแบบหนึ่งเนื่องจากเป็นไฟล์ขนาดเล็กกว่ามากได้แก้ MP3 (ย่อมาจาก MPEG 1, audio layer 3 ไม่ใช้ MPEG 3 ดังที่หลายคนเข้าใจ) ส่วนต่อประสานเมื่อนำข้อมูลต่างๆ มารวบรวมสร้างเป็นไฟล์สื่อประสมด้วยซอฟต์แวร์โปรแกรมแล้วการที่จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้งานจำเป็นต้องใช้ส่วนต่อประสาน (interface) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศเหล่านั้นได้ ส่วนต่อประสานที่ปรากฏบนจอภาพจะมีมากมายหลายรูปแบบ เช่น รายการเลือก (menu) และสัญรูปต่างๆ เป็นต้น 
          การเชื่อมโยงไฟล์สื่อประสมที่สร้างขึ้นอาจเป็นไฟล์สื่อประสมธรรมดาที่ใช้เพียงส่วนต่อประสานในการทำงาน ดังเช่นการนำเสนอเนื้อหาที่บรรจุข้อความ ภาพ และเสียงครั้งละสไลด์เรียงตามลำดับด้วยโปรแกรม PowerPoint แต่หากเป็นไฟล์สื่อประสมเชิงโต้ตอบที่ให้ผู้ใช้คลิกปุ่มหรือสัญรูปซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงเพื่อนำไปเนื้อหาที่อื่นๆ ได้ โดยการเชื่อมโยงนี้จะสร้างการเชื่อมต่อระหว่างข้อมูลตัวอักษร ภาพ และเสียง โดยการใช้สี ข้อความขีดเส้นใต้ หรือภาพกราฟิกที่แทนสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น รูปลำโพง หรือให้ผู้ใช้คลิกที่จุดเชื่อมโยงเหล่นนั้นไปยังข้อมูลที่ต้องการ 
          สรุป รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้สอน และผู้เรียนไม่จำเป็นต้องพบกันตามเวลาในตาราง ที่กำหนดไว้ แต่ผู้สอนและผู้เรียนสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา โดยใช้เครื่องมือสื่อ สารต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหน เวลาใดก็ได้ เป็นการเรียนที่อาศัยวิธีการ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในลักษณะที่ปฏิสัมพันธ์ และมีส่วนร่วมช่วยเหลือกันระหว่างผู้เรียน โดยใช้แหล่งข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกล ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้า หรือเข้าถึงข้อมูลความรู้เหล่านั้นจากที่ไหน และเวลาใดก็ได้ ตามความต้องการและความสะดวกของผู้เรียนเอง ซึ่งเป็นการใช้การสื่อสารระยะไกลเพื่อช่วยให้การเรียนรู้มีลักษณะใกล้เคียงกับการเรียนในระบบห้องเรียนหรือการเรียนการสอนที่ผู้สอนกับผู้เรียนได้พบหน้ากัน

 
  Today, there have been 3 visitors (6 hits) on this page!  
 
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free